คำถามท้ายบทเรียน
คำถามท้ายบทที่ 5
1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
1.ข่าวสารประจำสัปดาห์ เช่น
เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
2.จดหมายข่าวและกิจกรรม เช่น
กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง นิทาน ศิลปะ ภาษา
3.ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง เช่น
ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
4.การสนทนา เช่น การนัดประชุมผู้ปกครอง
2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
1.ห้องสมุดผู้ปกครองเช่น
มีเฉพาะในโรงเรียนบางแห่งที่จัดสำหรับผู้ปกครอง
2.มุมผู้ปกครอง เช่น ดูภาพกิจกรรมของเด็ก
3.ป้ายนิเทศ เช่น แนะนำสถานศึกษา
ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
4.นิทรรศการ เช่น นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
5.การประชุม เช่น
แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
6.จุลสาร เช่น เรื่องราวของเด็กๆ
7.คู่มือผู้ปกครอง เช่น
เอกสารเกี่ยวกับปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
8.ระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ข่าวสาร ข้อมูล
3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง
จงอธิบาย
ตอบ
ครูควรเข้าไปพูดคุยปรับความเข้าใจหรือปรับทัศนคติของผู้ปกครอง
เพื่อจะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร
จงอธิบาย
ตอบ มีความสำคัญมาก
ทำให้ครูและผู้ปกครองได้ปรับพฤติกรรมให้เด็กส่งเสริมพัฒนาการที่ดี
และปรับปรุงพฤติกรรมไม่ดีร่วมกัน
5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ
มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ
รูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ
สถานศึกษาสามารถจัดให้บริการแก่ผู้ปกครอง
โดยมีข้อคิดที่สำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ
ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน
คำถามท้ายบทที่ 4
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ
ทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย
ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต
พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก
เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ
2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
จงอธิบาย
ตอบ เมื่อมีโครงการเกิดขึ้น เราจะต้องคอยติดตามป็นระยะ
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก
มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ 1. การดูแลเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
2. เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัย
3. อาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
4. หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย
5. พัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร
จงอธิบาย
ตอบ ส่งผลดี ผู้ปกครองจะได้ทราบถึงพัฒนาการเด็ก
หากไม่ดี จะต้องหาวิธีแก้ไข
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร
จงอธิบาย
ตอบ ตรวจสอบหรือเข้าเยี่ยมบ้าน
คำถามท้ายบท 3
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ การสื่อสาร (Communication) คือ
กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก
ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร
มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง
2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์
เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ
ช่วยให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ เช่น ปัญหาของบุตรหลาน
หรือจะเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมให้เด็กทำ
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ 1.เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
2.เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
3.มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
4.เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
5.เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
6.ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
7.เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง
เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ 1.ความพร้อม คือ
สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมในเรื่องดังนี้
พื้นฐาน ประสบการณ์เดิม
สร้างความสนใจเห็นเห็นถึงความสำคัญของความรู้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการเรียนรู้
2.ความต้องการ คือ
ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง
มีการศึกษาที่ดี
3.อารมณ์และการปรับตัว
คือ
แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2
ประเภทคือ อารมณ์ทางบวก เช่น ดีใจ พอใจ
ฯลฯ อารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ หงุดหงิด
ซึ่งอารมณ์ทั้ง 2 นี้มีผลต่อการเรียนรู้
ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
4. การจูงใจ
หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่น
ต้องการรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลาน ต้องการรู้เพื่อพัฒนาลูก ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี
5. การเสริมแรง
คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
6. ทัศนคติและความสนใจ
คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ
7. ความถนัด
คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น